จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยา หมายถึง
วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิ
สาขาของจิตวิทยา
1.จิตวิทยาสังคม (Social
Psychology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ๆ หรือกับสังคม
2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ
ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาการเรียนการสอน
(Psychology in Teaching and Learning) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4.จิตวิทยาคลินิก (Clinical
Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์
และวิธีการบำบัดรักษา
5.จิตวิทยาการเรียนรู้
(Psychology of Learning) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้
และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied
Psychology) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ
ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง
การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7.จิตวิทยาทั่วไป (General
Psychology) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น
พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป
หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้
การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ
ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.จุดมุ่งหมาย
จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้
และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.ด้านการเรียนการสอน
ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ
สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.ด้านสังคม ช่วยให้ครู
นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.ปกครองและการแนะแนว
ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ
เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม(Behavior)
การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม
การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ
พฤติกรรม
แบ่งเป็น 2 ประเภท
พฤติกรรมภายนอก
( Overt Behavior)
พฤติกรรมภายใน (
Covert Behavior)
แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง
ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism)
- วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
-
ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt
เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า
จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.การสัมผัส (Sensation)
2.ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Tetchier) ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
3.จิตนาการ (Image)
2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์
(Williaam James)
สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด
วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา
3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John
B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ
พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์
จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) - ฟรอยด์ (Sigmund
Freud)
- แอดเลอร์ (Alfred Adler)
- จุง (Carl G.Jung)
- จุง (Carl G.Jung)
ตามแนวคิดของ
ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
1.จิตสำนึก
(Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.จิตใต้สำนึก
(Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.จิตไร้สำนึก
(Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง
จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ
และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3
ลักษณะ
1.(Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2. (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี
คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3. (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ
ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้
ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี
2 ลักษณะ
1. การรับรู้
(Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2. การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง
การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน
ประโยชน์ของจิตวิทยา
1. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
2. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
3. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
4. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
5. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
6. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
7. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
8. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
9. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
10. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว
มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
11. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม
(Social
Perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ